Research, Year 2014

โครงการวิจัย ปัญหาในกระบวนการบังคับคดีอันเกิดมาจากข้อตกลงยกเว้นมาตรา 733แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

รายนามผู้ว่าจ้าง กรมบังคับคดี

การศึกษาปัญหาในข้อกฎหมายและกระบวนการบังคับคดีอันเนื่องมาจากข้อตกลงยกเว้นการใช้บังคับตามมาตรา 733 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยการศึกษาจะมุ้งเน้นไปที่บทบัญญัติมาตรา 733 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติเรื่องเดียวกันกับกฎหมายต่างประเทศในกระบวนการบังคับคดีและแนวทางการปฏิบัติการดําเนินการชั้นบังคับคดีให้มีความถูกต้องและเหมาะสมในกระบวนการบังคับคดี นำข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน ช่วยสร้างมาตรการเพื่อควบคุมการทำนิติกรรมสัญญาของประชาชนให้เป็นไปอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม และจะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในกระบวนการบังคับคดีกับทรัพย์จำนองโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 


 

Non-Party Benefits under the ASEAN Services Trade Agreement

รายนามผู้ว่าจ้าง The University of the Thai Chamber of Commerce

The ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) purports to be an ASEAN services trade agreement for closer and deeper integration than the GATS. AFAS Article VI spells out liberal rules of origin in services towards non- party service suppliers to gain access in Mode 3 (commercial presence) to ASEAN services markets. This may cause disadvantages for small countries in ASEAN to face rigor competition while opportunities may be gained from capacity development. The study reveals dichotomy in reception of services rules of origin between Thai services business sectors opting for stringent rules of origins, and the government in support of liberal rules of origin. This research suggests that a domestic adjustment of rules and regulations is needed to create a viable environment for foreign and domestic business.

 


 

อนุวัติการกฎหมายเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน: ศึกษากรณีการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและการลงทุน

รายนามผู้ว่าจ้าง สํานักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)

การศึกษาพันธกรณีของประเทศไทยตามความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement in Services: AFAS) และความตกลงความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ และมีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ ให้สอดคล้องกับพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA) ในเรื่องของหลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ การโอนเงินออกนอกประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตรา การเวนคืนและการชดเชยการจ้างแรงงานผู้บริหารอาวุโส ความโปร่งใสในขั้นตอนการออกกฎหมาย และการระงับข้อพิพาท เพื่อการพัฒนาระบบการระงับข้อพิพาทของประเทศไทยให้ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

 


 

โครงการพัฒนาและเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในกิจการโทรทัศน์

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

การรวมตัวกันของกลุ่มปประเทศอาเซียน เพื่อที่จะได้มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกันมีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและเงินทุนที่เสรีขึ้น มีขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความเท่าเทียมนารพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก การขยายตลาดอาเซียนให้เติบโตขึ้น ส่งผลให้ประเทศสมาชิกอาเซียนปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงรวมถึงประเทศไทยด้วย การเตรียมความพร้อมในเชิงยุทธศาสตร์และการกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการโทรทัศน์ในการเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ ปรับปรุงหรือออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ตามทิศทางและแนวโน้มการแข่งขันในภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการไทย และจัดทำแผนการเตรียมความพร้อมของกิจการโทรทัศน์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยการประเมินผลกระทบ ปัญหาและอุปสรรคในแง่ของการเปิดตลาดเสรีตามข้อผูกันสาขาโสตทัศน์

 


 

โครงการศึกษาการปฏิรูปโครงสร้างภาษีสรรพสามิต

รายนามผู้ว่าจ้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

เนื่องจากในปัจจุบันมีการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต ตลอดจนความจำเป็นของการใช้สินค้าและบริการต่างๆ ได้ปรับเปลี่ยนไปตามเวลาและสภาพสังคม แต่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยังคงเป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิมมีความจำเป็นที่จะต้องถูกนำมาพิจารณาใหม่ จึงมีการศึกษาและการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้เหมาะสมและถูกต้องตามหลักการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต และเนื่องจากภาษีสรรพสามิตเป็นภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภค และเพื่อทำการศึกษาค้นหาวัตถุประสงค์ของการเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทยการดำเนินการศึกษาประเด็นสําคัญเกี่ยวกับภาระภาษีสรรพสามิตของอุตสาหกรรมหลัก (ในภาพกว้าง) โดยเน้นที่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิต สุรา เบียร์ ยาสูบ น้ำมัน และรถยนต์ ศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในระดับสากล เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการ กำหนดแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการปฏิรูปภาษีสรรพสามิตสำหรับประเทศไทยโดยวิเคราะห์ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกฎหมายภาษีสรรพสามิตของประเทศไทย ในการศึกษามีการสำรวจความเห็นและรวบรวมเพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะจากภาคอุตสาหกรรมต่อภาษีสรรพสามิต นำผลการศึกษาทั้งในเรื่องความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกฎหมายภาษีสรรพสามิตของ ประเทศไทยตลอดจนข้อเสนอแนะของภาคอุตสาหกรรม มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการให้ข้อเสนอเชิง นโยบายหรือยกร่างกฎหมายภาษีสรรพสามิตตามหลักภาษีอากรที่ดี

 


 

โครงการข้อมูลกฎหมายของประเทศบรูไนและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนของประเทศบรูไน

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ประเทศบรูไนเป็นประเทศที่มีรายรับหลักทางเศรษฐกิจจากการลงทุนในทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าทำข้อตกลงเกี่ยวกับการเปิดตลาดเสรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบรูไน ก่อให้เกิดพันธกรณีในการยกเลิกข้อจำกัดต่อนักลงทุนต่างชาติในหลายประการซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในภาคธุรกิจที่มีความสำคัญของประเทศบรูไนได้มากขึ้น การเข้าไปลงทุนจำเป็นต้องมีการศึกษาสภาพของกฎหมายของประเทศบรูไน ทั้งในเชิงระบบกฎหมาย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุน ข้อมูลระบบกฎหมายและระบบศาลโดยสังเขปของประเทศบรูไน ขั้นตอนในการเข้าไปประกอบธุรกิจ เงื่อนไขและข้อจำกัดต่อการประกอบธุรกิจ มาตรการส่งเสริมการลงทุน วัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจของประเทศ รวมถึงอุปสรรคในทางปฏิบัติ

 


Research, Year 2015   l  Research, Year 2013