Research, Year 2017

โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

รายนามผู้ว่าจ้าง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัล และวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ให้มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถแข่งขันกับโลกสมัยใหม่ได้ โดยมุ่งส่งเสริมการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง และการใช้ดิจิทัลเพื่อรองรับการให้บริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคสื่อสารและบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งการนำดิจิทัลมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐบาล โดยที่มาตรการทางกฎหมายเป็นกลไกที่สำคัญกลไกหนึ่งที่จะขับเคลื่อนนโยบายรัฐเพื่อรองรับการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ ซึ่งปัจจุบันแม้ว่ารัฐบาลจะได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวไปแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกฎหมายอีกจำนวนมาก โดยพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวทั้งในระดับสากลและระดับประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 


 

โครงการ การศึกษามาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อหารายการและผู้ผลิตสื่อโฆษณาผ่านช่องทางบริการ OTT

รายนามผู้ว่าจ้าง บริษัท ไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด

การศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน โดยการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ให้บริการ OTT ในประเทศไทย มุ่งให้เกิดการผลักดันนโยบายเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อหารายการ (Content Producers) และผู้ผลิตสื่อโฆษณา (Advertising Industry) ผ่านช่องทางบริการสื่อสารและแพร่ภาพและเสียง บริการผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Over the top และทำการศึกษาบริบทของการพัฒนาบริการ OTT ในภูมิภาคอาเซียน สถานการณ์ปัจจุบันของผู้ผลิตเนื้อหารายการในประเทศไทย ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (Digital TV) และผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิตอลที่เผยแพร่ผ่านระบบเคเบิลและดาวเทียม ศึกษาแนวทางนโยบายของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริการ OTT สถิติภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับมูลค่าการโฆษณา มูลค่าของรายการโทรทัศน์ดิจิตอล วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของการรับชมสื่อบันเทิง รวบรวมข้อมูลและความเห็นจากผู้ผลิตเนื้อหาหรือรายการ วิเคราะห์และคาดการณ์ผลที่อาจเกิดขึ้นหากผู้ให้บริการ OTT ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามการกํากับดูแล

 


 

โครงการจัดจ้าง ศึกษาระบบการระงับข้อพิพาทด้านการเงินและการธนาคารของต่างประเทศ

รายนามผู้ว่าจ้าง สถาบันอนุญาโตตุลาการ

โครงการนี้ดำเนินการศึกษาฎหมาย กฎระเบียบ หรือมาตรการของภาครัฐในต่างประเทศที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการระงับข้อพิพาทด้านการเงินและการธนาคาร และการระงับข้อพิพาททางเลือกด้านการเงินและการธนาคาร ตลอดจนข้อดี ข้อเสีย และวิเคราะห์ว่ามาตรการเหล่านั้นมีความเหมาะสมกับไทยอย่างไร และจัดทำข้อเสนอเรื่องทิศทางการพัฒนาระบบการระงับข้อพิพาทด้านการเงินและการธนาคารเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ตรงจุด และสอดคล้องกับสภาพปัญหาของประเทศ ตลอดจนข้อเสนอเรื่องความจำเป็นของประเทศไทยในการพัฒนาหลักเกณฑ์การระงับข้อพิพาททางเลือกด้านการเงินและการธนาคาร

 


 

โครงการ “ความเห็นเชิงนโยบายสำหรับการปฏิรูประบบภาษีสรรพสามิตยาสูบ”

รายนามผู้ว่าจ้าง ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด

การนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การใช้ “ราคาขายปลีกแนะนำ” เป็นฐานภาษีเชิงมูลค่าของภาษีสรรพสามิต ยื่นอย่างเป็นทางการให้กับผู้กำหนดนโยบายหลัก เพื่อให้ได้มาซึ่งบทวิเคราะห์ การใช้ “ราคาขายปลีกแนะนำ” เป็นฐานภาษีเชิงมูลค่าของภาษีสรรพสามิต โดยเป็นบทความภายใต้ชื่อของผู้ดำเนินโครงการ และดำเนินการติดต่อกับสื่อมวลชนเพื่อให้ตีพิมพ์บทความดังกล่าว โดยทำการศึกษาลักษณะของระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบในประเทศต่างๆ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบจากองค์กรระหว่างประเทศหรือสถาบันทางวิชาการชั้นนำต่างๆ ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การบริโภคยาสูบภายในประเทศ และระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบของไทยในปัจจุบัน เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวนโยบายระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต โดยทำการรวบรวมและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบในประเทศต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์แนวทางการปฏิรูประบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบในต่างประเทศที่อาจใช้เป็นแนวทางสำหรับประเทศไทยได้ นำเสนอความเห็นเชิงนโยบายเกี่ยวกับระบบการเก็บภาษีสรรพสามิตยาสูบจากองค์กรชั้นนำระหว่างประเทศและสถาบันทางวิชาการชั้นนำ เพื่อให้เข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียของระบบต่าง ๆ และนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับวางระบบภาษีสรรพสามิตยาสูบที่เหมาะสมในบริบทของประเทศไทย โดยพิจารณาความเห็นขององค์กรระหว่างประเทศและกรณีศึกษาจากต่างประเทศเป็นแนวทาง

 


 

โครงการศึกษาประเด็นกฎหมายและแนวทางปฏิบัติทางศุลกากรว่าด้วยการผ่านแดนและถ่ายลำของประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ เปรียบเทียบกับประเทศไทย

รายนามผู้ว่าจ้าง สมาคมเจ้าของเรือไทย

การศึกษาประเด็นกฎหมายและแนวทางปฏิบัติทางศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวกับการผ่านแดนและการถ่ายลำที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมการขนส่งสินค้าถ่ายลำ (Transshipment) และกิจกรรมการขนสินค้าผ่านแดน (Transit) จำเป็นที่จะต้องพิจารณาแก้ไขเพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการแข่งขันในตลาดการค้าโลก โดยการศึกษาประเด็นกฎหมายและแนวทางปฏิบัติทางศุลกากรว่าด้วยการผ่านแดนและถ่ายลำของประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ จะเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดี ที่ควรนำมาเป็นตัวอย่างในการปรับแก้ไขแนวทางปฏิบัติ และแก้ไขกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบเกี่ยวกับการผ่านแดนและการถ่ายลำ เนื่องด้วยประเทศดังกล่าวเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านนโยบาย ทางปฏิบัติ ระบบสารสนเทศ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยให้เกิดการผ่านแดนและถ่ายลำของสินค้า ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit ๑๙๙๘) เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การปรับใช้แนวทางปฏิบัติและกฎหมาย กฎระเบียบที่ดีจากประเทศตัวอย่างให้เหมาะกับสภาพ และสถานะของประเทศไทยจะช่วยเพิ่มศักยภาพประเทศไทยให้มีความเป็นได้ที่จะเป็น Logistics Hub ในอาเซียนในอนาคต นอกจากนี้ ยังทำการศึกษาแนวทางปฏิบัติ นโยบาย ระบบสารสนเทศ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยให้เกิดการผ่านแดนและถ่ายลำของสินค้าของประเทศเกาหลีใต้ที่มีความก้าวหน้าในด้านที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติที่ดีที่อำนวยให้เกิดการผ่านแดนและถ่ายลำของสินค้าสำหรับประเทศไทย ข้อเสนอเชิงกฎหมายและนโยบายเพื่อพัฒนาการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนและถ่ายลำเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งต่อภาคเอกชนและภาครัฐ และเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Logistics Hub ได้อย่างสมบูรณ์

 


Research, Year 2018   l  Research, Year 2016